รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน บ้านวังขวัญ  สังกัด สพป.พิษณุโลก เขต 2

ชื่อเรื่อง             รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
บ้านวังขวัญ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

ชื่อผู้ประเมิน       นายสันติ  ปานรักษ์

ปีที่ทำ              2565

 

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านวังขวัญ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context evaluation) 2) ปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) 3) กระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) 4) ผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านวังขวัญ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2  และ
5) ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านวังขวัญ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2  โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam.D.L.) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้   ได้แก่ 1) ครูโรงเรียนบ้านวังขวัญ
ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน  2)  นักเรียนโรงเรียนบ้านวังขวัญชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 98 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน
บ้านวังขวัญชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน
4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู)  จำนวน 7 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 174 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน  ได้แก่ แบบประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านวังขวัญ  จำนวน 4 ฉบับ  ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย (m)

และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)

ผลการประเมิน  พบว่า

การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านวังขวัญ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2  มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกด้าน  เมื่อแยกเป็นรายด้าน ปรากฏดังต่อไปนี้

  1. ด้านบริบท (Context Evaluation) มีผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.56)
  2. 2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) มีผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (m = 4.47)
  3. 3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) )  มีผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (m = 51)
  4. 4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 58)
  5. 5. ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านวังขวัญ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2  ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  (m = 4.53)